ไหว้ครู พิธีไหว้ครู




ไหว้ครู  พิธีกรรมการไหว้ครู
 
ในการกำหนดพิธีกรรมการไหว้ครูตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีมานั้น ท่านอาจารย์เกรียงไกร บุญธกานนท์ ได้กำหนดถึงพิธีการคือ ให้ระลึก 5 ประการ คือ
 
  • เทียง “ฟ้า” ผู้ให้กำเนิดสรรพสิ่ง
  • ตี้ “ดิน” ผู้ให้กำเนิดสรรพสิ่ง
  • จุง “ราชา” ผู้ให้แผ่นดินเราอยู่อาศัย
  • ชิง “พ่อแม่” ผู้ให้กำเนิดเรามา
  • ซือ “ครูอาจารย์” ผู้ให้วิชาสืบทอดต่างๆ สืบทอดมาจนถึงเรา

     
ซึ่งจะเห็นได้ว่าครอบคลุมสิ่งที่ควรสักการบูชาเป็นอย่างยิ่ง ส่วนพิธีหรือขั้นตอนในการไหว้ท่านอาจารย์ได้กำหนดขั้นตอนในการไหว้ โดยอาจารย์จะกล่าวนำขณะที่ทุกคนถือธูปอยู่ในมือ ดังนี้
ศิษย์ทุกท่านพร้อมเพรียงกัน ณ ลานพิธี อาจารย์ประกอบพิธีและกล่าวคำคารวะทั้งหมด 3 ข้อ ให้ศิษย์ทุกท่านกล่าวตามพร้อมกัน และทำการไหว้ตามไปด้วย ดังนี้
 
1. ด้วยความตั้งใจและจริงจัง (ถือธูปในลักษณะชิดหน้าอก)
2. สื่อคารวะฟ้าดิน พระมหากษัตริย์ พ่อแม่ ปรมาจารย์ผู้ให้กำเนิดวิชา อาจารย์ผู้ที่ให้วิชา (ยื่นธูปไปข้างหน้า)
3. ขอน้อมธูปด้วยความเคารพอย่างสูง (ชูธูปขึ้นเหนือหัว เสร็จแล้วปักธูป)
อันเป็นทั้งกำเนิดของธรรมชาติ และกำเนิดของตัวเราให้ตัวเป็นตนและอยู่รอดมาจนทุกวันนี้ เมื่อเราเกิดมา ครูคนแรกของเราก็คือพ่อแม่ สอนและดูแลเราให้เป็นตัวเป็นตนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
ถัดมาก็มาถึงครูอาจารย์ในโรงเรียนที่สอนให้เราเขียนอ่านทำให้เรารู้เดียงสา และมีพื้นฐานที่จะเรียนรู้วิชาการอื่นๆ เพิ่มตลอดจนวิชาชีพ ที่เราใช้เป็นเครื่องมือประกอบอาชีพเมื่อโตขึ้น
การไหว้ครูนั้นตามโรงเรียนก็จะจัดไหว้ครูปีละ 1 ครั้ง ซึ่งบางทีเราอาจจะไม่ได้สนใจถึงความสำคัญมากนัก ดังนั้นจดหมายข่าวจึงขอนำเสนอเรื่องราวของการไหว้ครูมาเพื่อทราบดังนี้
ประเพณีการไหว้ครู
การไหว้ครูเป็นประเพณี ของชาวตะวันออกเรา ไม่ว่าจะศึกษาวิชาการใดๆ ก็จะมีการไหว้ครูมาตลอด นับแต่เด็กเรียนหนังสือก็มีการไหว้ครู เรียนนาฏศิลป์ก็มีการไหว้ครู เรียนช่าง (วิศวกรรม สถาปัตยกรรม) ก็มีการไหว้ครู โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่เรียกว่าศาสตร์เร้นลับ เช่น ไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ และที่เราเรียนฮวงจุ้ยอยู่นี้ก็เช่นกัน ดังนั้นเราจึงน่าจะทราบเรื่องราวที่เกี่ยวกับการไหว้ครูบ้าง เผื่อถึงเวลาจะได้ทำด้วยความเข้าใจ ใครถามจะได้อธิบายได้
ครูคือใคร ครูก็คือผู้สั่งสอนวิชาให้ศิษย์ มาจากรากศัพท์ว่า “ครู” แปลว่า ผู้หนักแน่น หมายความว่า ผู้จะเป็นครูได้ต้องมีคุณธรรม คือความหนักแน่น อดทน จึงจะเป็นครูที่ดีได้ นอกจากนี้ในทางศาสตร์ต่างๆ ครูยังมีความหมายลึกเข้าไปอีก โดยอาจจำแนกได้เป็น
1. ครูเทพเจ้า ได้แก่ เทพเจ้า เบื้อบนที่มีความชำนาญพิเศษในแต่ละด้าน เช่น ครูพิฆเนศวร เป็นครูทางศิลป์ ครูฤๅษี (พ่อแก่) ทางนาฏศิลป์ ครูฤๅษีทางไสยศาสตร์ ครูพระวิษณุกรรมทางการช่าง ทางฮวงจุ้ยเราก็มีปรมาจารย์ ฟู ซี ชือ เป็นต้น
2. ครูเก่าแก่ ได้แก่ บุคคลรุ่นเก่าที่ล่วงลับไปแล้ว ถ่ายทอดวิชาการได้อย่างเชี่ยวชาญ เช่น ครูหมอชีวกโกมารภัจจ์ ทางหมอยา ครูโกณฑัญญะ ทางหมอดู ครูฮ้อเฮียซุ้ง (เสี่ยวโจ้ว) ทางฮวงจุ้ยเป็นต้น ซึ่งครูประเภทนี้นานๆ ไป บางท่านก็ได้รับการยกย่องเป็นเทพเจ้าก็มี
3. ครูสั่งสอน คือครูมนุษย์เรานี้เอง เป็นผู้ได้รับการถ่ายทอดวิชาการสืบๆ มาและเป็นผู้สืบสานถ่ายทอดวิชาการนั้นๆ แก่เราผู้เป็นศิษย์ในปัจจุบัน
 
จุดประสงค์ของการไหว้ครู
1. เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อผู้มีพระคุณ
2.. เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อครูบาอาจารย์
3. เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ศิษย์ในการศึกษาและปฏิบัติวิชานั้นๆ
 
สิ่งนี้ศิษย์ควรเคารพต่อครูบาอาจารย์
1. ให้การเคารพเทิดทูน เพราะท่านเป็นผู้มีพระคุณที่ทำให้เราได้ความรู้ขึ้นมา อย่างที่อาจารย์เคยสอนพวกเราว่า เป็นครูเพียงวันเดียวก็เป็นครูตลอดชีวิต
2. รู้คุณและต้องแทนคุณท่าน คือ ช่วยทำธุระงานของท่านเท่าที่จะทำได้ รวมทั้ง การปรนนิบัติท่านตามสมควร สำหรับครูเทพเจ้า จะทำด้วยการบวงสรวงตามวาระตามควร ครูมนุษย์ก็ปรนนิบัติท่านด้วยปัจจัยสี่ ให้ท่านมีความสุข
3. เผยแพร่เกียรติคุณแห่งวิชาการของครูบาอาจารย์ที่ได้ร่ำเรียนมา

 

 

 

ข้อมูลข่าว ชมรมภูมิโหราศาสตร์
 


[ รวม Tag ทั้งหมด ]

 

 



เมนูหลัก



บทความทั่วไปเกี่ยวกับโหราศาสตร์