ศาลพระภูมิเจ้าที่หินอ่อน



การตั้ง ศาลพระภูมิ / ศาลพระพรหม
ตามหลัก
ฮวงจุ้ย

 

  1. ศาลพระภูมิ

    คือ เจ้าที่ ต้องอยู่นอกบ้านเฉพาะชั้น 1 เท่านั้น
    ตั้งบนดาดฟ้า พระภูมิ ( ดิน ) ไม่มีพลัง กลายเป็นที่อาศัยของวิญญาณอย่างอื่น
    ศาลตายาย เป็นบริวารศาลพระภูมิ

    หากตั้ง ตี่จู้ - พระภูมิ แล้วก็ไม่จำเป็นต้องตั้ง ศาลพระภูมิ ศาลตายาย 

     
  2. ศาลพระพรหม มาจากฟ้า ตั้งชั้นใดก็ได้
    แต่การตั้งค่อนข้างยุ่งยากมากกว่า เพราะท่านมี 4 หน้า 
    และปกติหน้าทั้ง 4 ไม่ควรถูกบัง จึงเหมาะกับ 4 แยก หรือโรงงานขนาดใหญ่
    ไม่เหมาะกับบ้านเรือนที่อยู่อาศัย

     
  3. ตำแหน่งวาง ศาลพระภูมิ ศาลพระพรหม ศาลตายาย เหมาะกับ
    ดาวบารมีที่ดี เช่นบารมีประจำยุค บารมีหนุน เพื่อเสริมบารมี

    ดาวลาภที่ไม่ดี เช่นลาภเสื่อม ลาภวิบัติ เพื่อหยุดการรั่วไหล สูญเสีย

     
  4. ทิศทาง ต้องเป็นองศาที่ดี อย่างน้อยที่สุดต้องไม่เกิดโทษ 
    เช่น ตั้งทิศทางล้มเหลว ตั้งทิศทางที่ด้านหน้าเป็นลาภวิบัติ

    ระบบ
    ฮวงจุ้ยไม่ได้จำกัดว่า ศาลพระพรหม ศาลพระภูมิ จะต้องหันทิศเหนือหรือทิศตะวันออกเท่านั้น
    แต่จะขึ้นกับองศาเป็นหลัก

    หากหันตรงทาง 3 แพร่งหรือ 3 แยก และตำแหน่งนั้นเป็นดาวลาภ จะได้ลาภมาก


     
  5. ชัยภูมิ
    ห้ามตั้งขวางประตูใหญ่
    ห้ามอยู่ใต้ส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคาร
    ห้ามหันสวนกับทิศทางบ้าน บริวารจะพูดอย่างทำอย่าง

    * ฐานของศาล ห้ามสูงกว่าพื้นบ้านของห้องรับแขก
    * แม้มีที่ด้านหลังมาก ห้ามตั้งหลังบ้าน หันหน้าเข้าหาตัวบ้าน ... แต่เป็นด้านข้างได้ 
    * ตำแหน่งที่ตั้ง ให้ระวังเรื่องกลิ่นด้วย เช่น ใกล้ถังขยะ ท่อน้ำเสีย ห้องส้วม
    .. หากมีกลิ่นรุนแรง และไม่สามารถกำจัดได้ถาวร ก็ไม่ควรตั้ง 

     
  6. ฤกษ์ยาม
    การดูฤกษ์ ต้องดูทิศประธานบ้าน หลังบ้านด้วย + ดูทิศด้านหลังศาล + ปีเกิดเจ้าบ้าน
    ห้ามขุดเจาะในตำแหน่งดาวจร 5 ( ปีจร เดือนจร )
    ( อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ปฏิทินฤกษ์มงคล )

    ของไหว้ แนะนำเป็นผลไม้ 5 อย่าง 
    หลีกเลี่ยงเนื้อหมู เพราะบางสถานที่ เจ้าที่เป็นคนนับถืออิสลาม

    การย้ายศาล ต้องดูฤกษ์ทิศเดิมที่ย้ายออกด้วย

    โดยทั่วไปนิยมตั้ง ศาลพระพรหม ศาลพระภูมิ ช่วงเช้า ก่อนพระอาทิตย์ตกดิน

     
  7. หมายเหตุ
    ควรตั้ง ศาลพระหรหม ศาลพระภูมิ ศาลตายาย ต่อเมื่อจำเป็น 
    และไม่ควรตั้งหลายจุด 
    เมื่อตั้งแล้วต้องดูแล อย่างน้อยที่สุด วันพระ ควรจัดของไหว้
    ย้ายออกแล้วตั้งใหม่ด้วยตนเองได้ แต่มักนิยมให้พราหมณ์หรือผู้รู้ทำ และต้องดูฤกษ์
บทความเรื่องฮวงจุ้ย โดย  อ.เกรียงไกร บุญธกานนท์
ประธานชมรมภูมิโหราศาสตร์ ผู้เรียนรู้รุ่นหลัง
 
 
จุดเด่น จุดแข็งของศาลเจ้าที่หินอ่อน
1.   สวย หรู ดูดี มีระดับเพราะเป็นหินอ่อนแท้ ไม่ใช่เรซิ่น หรือไม้
2.   ถูกต้องตามหลักฮวงจุ้ยทุกประการ
3.   ตัวศาลแข็งแรงคงทน อายุการใช้งานยาวนานตลอดไป  ปลวกไม่กิน มดไม่ขึ้น สีไม่ซีด ไม่ต้องกังวลเรื่องต้องเปลี่ยนศาลบ่อยๆ
4.   ไม่มีความเสี่ยงเรื่องอุบัติเหตุเพลิงไหม้ ไฟไหม้
 
ข้อดีตามหลักศาสตร์ฮวงจุ้ย
1.   ส่งเสริมให้ครอบครัว หรือธุรกิจเข้มแข็งขึ้น เพราะความเป็นหินจะไม่มีวันสั่นคลอนง่ายๆ
2.   ส่งผลให้เจ้าของบ้าน หรือเจ้าของธุรกิจ มีสุขภาพดี มีอายุยืน ดุจดั่งหินผาที่กำเนิดมานานกว่าแสนปี ล้านปี
3.   ตัวศาลหินอ่อนจะส่งเสริมให้เจ้าที่ มีความศักสิทธ์มากยิ่งขึ้น เพราะเจ้าที่ได้พำนักอาศัยอยู่กับหินผา เปรียบได้กับเซียน ที่อาศัยหรือ บำเพ็ญบารมี ตามถ้ำ ตามภูเขาหิน
4.   หิน เป็นแร่ธาตุที่ใกล้ชิดกับพื้นดินมากที่สุด จึงมีพลังส่งเสริมจากดินทำให้เจ้าที่ มีอำนาจ มีพลัง มากขึ้น สามารถปกปัก รักษาคุ้มครอง ให้เจ้าของบ้าน เจ้าของธุรกิจ รุ่งเรือง มีโชคลาภ วาสนา บารมี
      (สังเกตได้จากสมัยก่อนประเทศจีนมักจะนำหินมาแกะสลักเป็นสิ่งศักสิทธ์ เช่น สิงโตเฝ้า หน้า ประตู หรือ พระพุทธรูป เพื่อนำมาไว้สัการะ บูชา เป็นต้น)
 


[ รวม Tag ทั้งหมด ]

 

 



เมนูหลัก



บทความทั่วไปเกี่ยวกับโหราศาสตร์