ฮวงจุ้ย Fengshui



 

ฮวงจุ้ย (อังกฤษ: Feng Shui ตัวย่อ: 风水 ตัวเต็ม: 風水 พินอิน: fēngshuǐ เฟิงสุ่ย IPA: /fɤŋ ʂueɪ/) หมายถึง สภาวะแวดล้อม หรือการอยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ในคติของชาวจีน มีลักษณะใกล้เคียงสถาปัตยกรรมศาสตร์ คำว่า ฮวงจุ้ย มาจากคำว่า ลม(ฮวง)และ น้ำ(จุ้ย) ออกเสียงตามสำเนียง จีนแต้จิ๋ว
ฮวงจุ้ย นี้อาศัยหลักการของการไหลเวียนของพลังงานบนผืนโลก (ชี่)โดยเปรียบให้เข้าใจได้ง่ายโดยการเปรียบเทียบกับธรรมชาติของไหลที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ธรรมชาติของลมและธรรมชาติของน้ำ ซึ่งนักพยากรณ์ฮวงจุ้ยที่ดีต้องอ่านพลังงานของชี่ และ แหล่งที่มาของชี่ให้ออก เพื่อเสริมการนำเข้า / ทำลายการปิดกั้น ให้ชี่ที่ดีสามารถเข้าได้ และ ถ่ายเทชี่ที่เสีย / ปิดกั้นไม่ไให้ชี่ที่เสียสามารถเข้าสู่สถานที่ที่เราอยู่ได้
ศาสตร์นี้มาจากประเทศจีน ดังนั้นผู้ที่ศึกษาและอาจารย์มักจะมีเครื่องรางที่มาจากจีนมาใช้ในการแก้ ความเป็นจริงแล้ว การสร้างสภาพแวดล้อมตามหลักฮวงจุ้ยนั้น ไม่เหมือนกันเลยในแต่ละเขตของโลก สภาพภูมิอากาศคนละอย่าง ในเรื่องของพิธีกรรมจีนจึงมีบทบาทกับฮวงจุ้ย กับทุกประเทศซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณากัน
ในเมืองไทย บ้านเรือนไทยสมัยก่อนจัดว่าถูกหลักของการจัดฮวงจุ้ยที่ถูกต้องในสภาพอากาศนี้ สำหรับในปัจจุบันบ้านเรือนไทยอาจจะไม่เหมาะ เนื่องจากราคาสูง ดังนั้นสถาปนิกที่มีต้องปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรม
การจัดตามหลักฮวงจุ้ยนั้นมีการจัดเพื่อการณ์หลายอย่างตามการใช้งานที่เจ้าของอย่างให้เป็น ดังนั้นพื้นที่(space)กับอารมณ์(mood)มีส่วนสำคัญกับงานฮวงจุ้ย อารมณ์ของคน มีส่วนกับดวงชะตา วันเดือนปีเกิด และดวงดาวรวมถึง หลักเชิง จิตวิทยา
 
 
หลักการวิเคราะห์ หรือ การปรับสภาพของ "ฮวงจุ้ย" ให้ดีนั้น จะต้องมีองค์ประกอบในการวิเคราะห์หลายประการ ซึ่งแต่ละองค์ประกอบก็มีจุดเด่นของแต่ละวิชา และจะต้องสอดคล้องกันและกัน ดังคำที่ว่า "หยิน หยาง ต้องสมดุลย์กัน จึงจะก่อเกิดทุกสรรพสิ่ง"  
 
องค์ประกอบในการวิเคราะห์ หรือ ปรับสภาพของ "ฮวงจุ้ย" ให้ดี  ประกอบด้วย
 
          ดวงชะตา ซึ่งมีความสำคัญอันดับหนึ่ง ในการแก้ไข "ฮวงจุ้ย" เพราะก่อนที่จะแก้ไข "ฮวงจุ้ย" นั้น จะต้องวิเคราะห์ดวงชะตาให้ถูกต้อง และค้นหา ข้อดี หรือ ข้อเสีย ของดวงชะตานั้นเสียก่อน จึงจะทำการแก้ไขหรือปรับสภาพของที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมหรือเสริมให้กับดวงชะตา การแก้ไขดวงชะตาด้วย "ฮวงจุ้ย" นั้น จะต้องดูที่ความเหมาะสมว่า ช่วงเวลานั้น (วัยจร หรือ ถนนชีวิต) เป็นอย่างไร ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับ บารมี , วาสนา หรือ บริวาร
 
          ชัยภูมิ ตามหลักวิชา "ชัยภูมิ" นั้น สามารถบ่งบอกอุปนิสัยของเจ้าบ้าน หรือ ผู้ที่อยู่อาศัยว่าเป็นอย่างไร เช่นเดียวกับการดู "โหงวเฮ้ง" บนใบหน้า ก็สามารถบอกอุปนิสัยได้เช่นกัน และการแก้ไขชัยภูมินั้น จะต้องคำนึงถึงการใช้สอยภายในสถานที่ หรือ การใช้สอยของผู้ที่อยู่อาศัย แต่จะต้องไม่ขัดกับหลักวิชา "ชัยภูมิ" มากเกินไป (ชัยภูมิสามารถแก้ไขได้ แล้วแต่ประโยชน์ใช้สอยของสถานที่ / ผู้อยู่อาศัย)
 
          ดาว 9 ยุค หรือ ดาวนพเก้า หลักวิชานี้จะว่าด้วยเรื่องของ "บารมี" (หยุดนิ่ง หรือ ภูเขา) และ "โชคลาภ" (เคลื่อนไหว หรือ ทางน้ำ) คำว่า "บารมี" นั้น จะหมายถึง มีผู้เกื้อหนุน หรือ มีผู้อุปถัมภ์ค้ำจุน ซึ่ง "บารมี" ตามหลักวิชา "ดาวนพเก้า" จะต้องอยู่ด้านหลังของอาคาร หรือ ด้านหลังของผู้ที่อยู่อาศัย จะต้องมีความมั่นคงดุจดังภูเขา มีความหนักแน่น เปรียบดั่งเก้าอี้ที่มีพนักพิงด้านหลังที่ใหญ่และมั่นคงดูภูมิฐาน ส่วนคำว่า "โชคลาภ" จะหมายถึง โชคลาภต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ลาภแท้ (ลาภผลที่มาจากหน้าที่การงาน หรือ งานประจำ) หรือ ลาภลอย (ลาภผลที่มาจากสิ่งที่คาดไม่ถึง หรือ ลาภที่มาจากการถูกรางวัล) ซึ่ง "โชคลาภ" จะต้องอยู่ด้านหน้าของอาคาร หรือ ด้านหน้าของผู้ที่อยู่อาศัย จะต้องมีลักษณะเคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่ง เปรียบดังสายน้ำที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา แต่ห้ามไหลเชี่ยว เพราะจะทำให้เกิดอันตราย
 
          8 ทิศ 8 ปฏิกิริยา หลักวิชานี้จะว่าด้วย ทิศทางทั้ง 8 ทิศ อันได้แก่ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ จุดเด่นของวิชานี้จะอยู่ที่ประตู ซึ่งจะกำหนดให้ประตูเกิดความรุ่งเรือง มีโชคลาภอยู่ตลอดเวลา และอีกจุดหนึ่งก็คือ ประธาน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ผู้บริหารมีความมั่นคง มีอำนาจในการบริหาร หลักการจะคล้ายคลึงกับหลักวิชา "ดาวนพเก้า" แตกต่างกันที่ วิธีการคำนวณ
 
 
 หลักการทั้ง 4 ข้อ เป็นหลักการใหญ่ ๆ ที่ซินแสหรือผู้ที่ต้องการแก้ไขฮวงจุ้ยควรมีความรู้ให้ถ่องแท้และอธิบายแต่ละหลักวิชาได้อย่างเข้าใจ ไม่มีความสับสน หรือขัดกับความรู้สึกของผู้อยู่อาศัย โดยสามารถนำไปแก้ไขให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของแต่ละวิชา แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ "ฤกษ์ยาม" เพราะถ้าฤกษ์ยามไม่ดี ไม่ว่า "ดวงชะตา" , "ชัยภูมิ" , "ดาวนพเก้า" , "8 ทิศ" จะแก้ไขได้ถูกต้องเพียงใด ก็จะไม่เกิดผลดี ซ้ำร้ายอาจเกิดผลเสียที่รุนแรงได้ 
 
ข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้ ฤกษ์ยาม
 
          1. ควรให้ผู้ที่รู้หลักวิชา "ฤกษ์ยาม" ที่ถูกต้องเป็นผู้ให้ฤกษ์ (ผู้รู้ที่ถูกต้อง คือ ผู้ที่สามารถบอกได้ว่าฤกษ์ยามนั้นจะเกิดผลกับผู้ใด และเกิดผลเกี่ยวกับเรื่องใด มีข้อดี หรือ ข้อห้ามอย่างไร) 
 
          2. สำหรับผู้ที่รู้ หรือ ผู้ที่อ่านภาษาจีนได้ พึงระวังที่สุด เพราะท่านเหล่านั้นอ่านภาษาจีนได้จริง แต่ใช่ว่าจะเข้าใจในหลักวิชา "ฤกษ์ยาม" ที่ถูกต้องได้ 

          3. "ฤกษ์ปลอดภัย" / "ฤกษ์ 4 ทิศ" / "ฤกษ์ 4 อสูร" ห้ามใช้ และพึงระวังมากที่สุด เพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ 
 




 
 
 


[ รวม Tag ทั้งหมด ]

 

 



เมนูหลัก



บทความทั่วไปเกี่ยวกับโหราศาสตร์