ความรู้เรื่องฤกษ์มงคล
ความรู้เรื่องฤกษ์มงคล 1
คำว่าฤกษ์ นั้นหมายถึง คราว,เวลา,ความปลอดภัยหรือความสำเร็จสมประสงค์หรืออำนวยความเป็นมงคลแก่ผู้ประกอบกิจการนั้นๆ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การถือฤกษ์งามยามดีในการทำการมงคลต่างๆ มีมาแต่โบราณกาล และไม่ถือเฉพาะคนไทยเท่านั้น ชนชาติอื่นๆ เช่น จีน อินเดีย พม่า ญี่ปุ่น ก็มีการถือฤกษ์งามยามดีวันมงคลเช่นกัน โดยเฉพาะชนชาติจีนแล้วถือว่าเรื่องฤกษ์มงคลนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การถือเรื่องฤกษ์ยามมงคลนั้น คงขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละบุคคล บางคนก็เชื่อแบบสุดๆ บางคนก็เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง และบางคนก็ไม่เชื่อเลยเช่นกัน |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนที่เราจะทำการมงคลใดๆ ควรคำนึงถึงฤกษ์ดีและควรตรวจดูกาลโยค ณ ปีปัจจุบันในปฏิทินโหรปีนั้นเสียก่อนว่าวันใด ฤกษ์ใดเป็นอุบาทว์ โลกาวินาศ และในวันนั้นจะต้องไม่ตรงกับวันดับหรือที่เรียกว่า "ดิถีมหาศูนย์" หรือ "ดิถีพิฆาต" และอย่าให้วันนั้นเป็นวันกาลกิณีเดิมของผู้ประกอบการและในภูมิปีนั้นก็ไม่ควรเป็นกาลกิณีด้วยควรใช้วันที่เป็นธงชัย อธิบดี และวันที่เป็นมิตรอย่าให้พระจันทร์เป็นศัตรูคือเป็นอริ มรณะ วินาศ ต่อผู้ประกอบการ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศัพท์เบื้องต้นเพื่อประกอบความเข้าใจ ก่อนหาฤกษ์มงคลด้วยตนเอง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ธงชัย หมายความว่า เวลาประกอบด้วยโชค คือ ความเป็นใหญ่ ความเข้าไปตั้งอยู่ในที่ศัตรูเข้าไปตั้งอยู่มิได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กาลโยคประจำปี พ.ศ.2556
กาลโยคประจำปี พ.ศ.2557
กาลโยคประจำปี พ.ศ.2558
กาลโยคประจำปี พ.ศ.2559
กาลโยคประจำปี พ.ศ.2560
กาลโยคประจำปี พ.ศ.2561
กาลโยคประจำปี พ.ศ.2562
กาลโยคประจำปี พ.ศ.2563
กาลโยคประจำปี พ.ศ.2564
กาลโยคประจำปี พ.ศ.2565
กาลโยคประจำปี พ.ศ.2566
กาลโยคประจำปี พ.ศ.2567
|
การใช้ปฏิทินฤกษ์มงคล ผู้ใช้ฤกษ์ควรจะต้องมีความรู้พอสมควรเกี่ยวกับฤกษ์ต่างๆ เพราะแต่ละฤกษ์จะใช้ในกิจการที่แตกต่างกัน เช่น |
1. ทลิทโทฤกษ์ ใช้สำหรับการสู่ขอ ทวงหนี้ 2. โจโรฤกษ์ ใช้สำหรับปราบศัตรู ทำสงคราม แข่งขันกีฬา 3. เทศาตรีฤกษ์ ใช้เปิดร้านค้า โรงงาน มหรสพ ฯลฯ |
ปฏิทินที่ผมจะได้นำมาบอกไว้ในเว็บไซต์นี้นั้น เป็นการบอกกล่าวเบื้องต้นเฉพาะวันสำคัญๆวันดี-วันร้าย วันต้องห้าม ฯลฯ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนประกอบกิจการล่วงหน้า หลายคนมองข้าม หลายคนเน้นหนัก ให้ยึดทางสายกลางคือ " น้อยไปไม่ได้ มากไปไม่ดี " |
ตารางดูวันมงคลด้วยตนเองอีกแบบหนึ่ง
ฤกษ์บน-ฤกษ์ล่าง |
ฤกษ์บน คือ คราวหรือเวลาซึ่งเหมาะเป็นชัยมงคลลางเบื้องสูงกล่าวถึงการโคจรของพระจันทร์และตำแหน่งดาวพระเคราะห์ต่างๆ บนท้องฟ้าถือเวลาเป็นหลัก กำหนดตำแหน่งดาวพระเคราะห์ส่งกระแสอิทธิพลซึ่งเป็นกำลังโดยตรงจากดาวเคราะห์ เหมือนกับเวลาที่เกิดจากแสงอาทิตย์ทางโหราศาสตร์ได้กำหนดไว้ เช่น ฤกษ์ทลิทโท มหัทธโน โจโร ภูมิปาโล เทศาตร์ เทวี เพชฌฆาต ราชา สมโณ รวม 9 ฤกษ์ เรียกว่า ฤกษ์บนเรือนหรือนพดล |
ฤกษ์ล่าง คือ คราวหรือเวลาซึ่งเหมาะเป็นชัยมงคลทางเบื้องใต้ฟ้า หรือทางเบื้องต่ำบนพื้นดิน โดยใช้วันทั้ง 7 ประกอบด้วยดิถีขึ้นแรมและเดือนปีเป็นหลักกำหนดรับ เช่น วันอุบาทว์ โลกาวินาศ ธงชัย อธิบดี ดิถีพิฆาต ดิถีฤกษ์ชัย วันจม วันลอย วันฟูกทิงวัน อัคนิโรธ ทักทิน ยมขันธ์ ฯ ดังนี้จัดเป็นฤกษ์ย่อยๆ ต่างๆ รวมเรียกว่า ฤกษ์ล่างหรือภูมิดล ฉะนั้นฤกษ์ล่าง ได้แก่ เรือนชาตาที่คำนวณขึ้นโดยใช้วัน เดือน ปี เกิด เป็นหลัก และเป็นที่รองรับประจุกำลังอิทธิพลจากดาวเคราะห์เหมือนกับนาฬิกา ซึ่งคำนวณมาจากอาทิตย์ |
ทั้งฤกษ์บน-ฤกษ์ล่าง เป็นของคู่กันโดยถือหลักที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลาย ซึ่งเป็นของคู่กันเท่านั้นที่จะอำนวยผลผลิตหรือประโยชน์ได้โดยสมบูรณ์ เช่น มนุษย์หรือสัตว์ ก็มีเพศคู่ หรือเพศผู้และเพศเมีย พลังงานไฟฟ้าก็มีขั้วไฟเป็นคู่ คือ ขั้วไฟฟ้าบวก และขั้วไฟฟ้าลบ ในเรือนกายของมนุษย์เองก็มีอวัยวะที่เป็นคู่เท่านั้น ที่จะอำนวยผลผลิตและประโยชน์ได้ด้วยตัวเอง เช่น แขนและขา เป็นต้น ส่วนอวัยวะที่เป็นคี่ก็ไม่สามารถที่จะอำนวยผลผลิตและประโยชน์ได้ เช่น ปากเคลื่อนไหวเป็นคำพูด หูนั่นแหละคือคู่รับฟัง |
ความหมายของฤกษ์ทั้ง 9 |
1. ทลิทโทฤกษ์ แปลว่า ผู้มักน้อย ผู้เข็ญใจ ผู้ขอ ผู้ต้องเหน็ดเหนื่อย ผู้อดทน ผู้ที่ต้องรับผิดชอบสูง ฤกษ์นี้เป็นฤกษ์ของ "ชูชก" มีพระอาทิตย์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็นบูรณะฤกษ์ คือฤกษ์ที่เต็มโดยสมบูรณ์ คือฤกษ์ที่ไม่ขาดแยกแตกบาทฤกษ์ไปอยู่คนละราศี และเรียกว่า จัตตุรฤกษ์ หรือ ขันธฤกษ์ เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การขอสิ่งต่างๆ เพราะถือว่าเป็นฤกษ์ของชูชก จะทำการขอสิ่งใดก็ง่าย เช่น การขอหมั้น ขอแต่งงาน ทวงหนี้ กู้ยืม ร้องทุกข์ การทำการใดๆ เพื่อให้ผู้อื่นสงสารกรุณา เปิดร้านขายของชำ ของเก่าชำรุด สมัครงาน ทำการใดๆ ที่ริเริ่มใหม่ |
2. มหัทธโนฤกษ์ แปลว่า คนมั่งมี ผู้เจริญรุ่งเรือง เศรษฐี มีพระจันทร์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็นบูรณะฤกษ์ เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การมงคลต่างๆ เช่น ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน ปลูกสร้างอาคาร ธุรกิจการเงิน การค้าอุตสาหกรรม เปิดห้างร้าน ลาสิกขาบท สะเดาะเคราะห์ และ สารพัดงานมงคล |
3. โจโรฤกษ์ แปลว่า โจร ผู้ปล้น ผู้ลักขโมย นักเลง ผู้ใช้กำลัง ผู้ทำลายล้าง ผู้กล้าหาญมีอำนาจ ผู้ว่องไว มีพระอังคารเป็นผู้รักษาฤกษ์ ฤกษ์บาททั้ง 4 ไม่รวมอยู่ในราศีเดียวกัน คาบเกี่ยวอยู่ 2 ราศีเป็นฉินทฤกษ์ คือฤกษ์ขาดแตก โดยเฉพาะบาทแรกของต้นราศีนั้น เป็นฤกษ์บาทที่ร้ายแรงมากกว่าบาทอื่น เป็นนวางค์ที่ร้ายแรงมาก ไม่ควรให้ฤกษ์มงคล เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ คนโบราณใช้ในการปล้นค่าย จู่โจมโดยฉับพลัน ข่มขวัญ บีบบังคับ ทำการปราบปราม การแข่งขันช่วงชิง การแย่งอำนาจและผลประโยชน์ งานเสี่ยงๆ ในระยะสั้นๆ การปฏิวัติ งานของบุคคลในเครื่องแบบแบใช้กำลัง |
4. ภูมิปาโลฤกษ์ แปลว่า ผู้รักษาแผ่นดิน มีพระพุธเป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น บูรณะฤกษ์ เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การมงคลต่างๆ งานที่ต้องการความมั่นคงถาวร งานเกี่ยวกับที่ดิน การเกษตร การเช่าซื้อ ก่อสร้าง ปลูกเรือน ยกศาลพระภูมิ แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ ลาสิกขาบท เปิดอาคารห้างร้าน และ สารพัดงานมงคลทั้งปวง |
5. เทศาตรีฤกษ์ แปลว่า ข้ามท้องถิ่น หญิงแพศยา ผู้ท่องเที่ยว บางคราเรียกว่า "เวสิโยฤกษ์" หมายถึงฤกษ์พ่อค้า-แม่ค้า มีพระเสาร์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ปลายราศีหนึ่ง และ ต้นราศีหนึ่ง แห่งละ 2 บาทฤกษ์ คือคาบเกี่ยวอยู่ราศีละครึ่ง คือในราศี พฤษภกับเมถุน , กันย์กับตุลย์ และ มังกรกับกุมภ์ เป็นฤกษ์อกแตก หรือ พินทุฤกษ์ หรือ ตินฤกษ์ เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ งานการติดต่อการค้าระหว่างถิ่น เกี่ยวกับความสนุกสนานชักชวนคนเข้าออกมาก เปิดโรงมหรสพ สถานเริงรมย์ ซ่องโสเภณี โรงแรม โรงหนัง ตลาดและศูนย์การค้า การประกอบอาชีพนอกสถานที่ อาชีพเร่ร่อน อาชีพที่ต้องย้ายที่อยู่เสมอ |
6. เทวีฤกษ์ แปลว่า นางพญา ความงามหรูหรา ความมีเสน่ห์ โชคลาภ และ การสมความปรารถนา มีพระพฤหัสฯ เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็นบูรณะฤกษ์ เป็นฤกษ์ที่มุ่งให้เกิดโชคลาภ เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ การหมั้นหมายและสมรส การส่งตัวเจ้าสาวและเข้าห้องหอ การทำกิจการที่ต้องการชื่อเสียงและมีเสน่ห์ งานมีเกียรติ งานเชิงศิลปะตกแต่งชั้นสูง เปิดร้านค้าอัญมณีเครื่องประดับ ร้านเสริมสวย ตัดเย็บเสื้อผ้า การประชาสัมพันธ์ ลาสิกขาบท ขึ้นบ้านใหม่ ขอความรัก งานเพื่อความสงบเรียบร้อย และ สารพัดงานมงคลทั้งปวง |
7. เพชฌฆาตฤกษ์ แปลว่า ผู้ทำหน้าที่ฆ่า มีพระราหูเป็นผู้รักษาฤกษ์ ฤกษ์บาททั้ง 4 แตกขาดกัน และ ตรงข้ามกับ โจโรฤกษ์ เรียกว่าตรินิเอก คืออยู่ปลายราศี 3 ฤกษ์บาท และ ต้นราศี 1 ฤกษ์บาท ไม่ควรให้ฤกษ์ในการมงคลเลย เป็นฉันทฤกษ์(ฤกษ์แตกขาด)เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การฟันผ่าอันตรายและอุปสรรค ต่อสู้เสี่ยงภัยต่างๆ อาสางานใหญ่ ทำกิจปราบปรามศัตรู ตัดสินคดีความ งานที่ใช้การตัดสินใจอย่างเด็ดขาด ประกอบพิธีไสยศาสตร์ ปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ลงเลขยันต์ สร้างวัตถุมงคลแบบคงกระพันชาตรี สร้างสิ่งสาธารณะกุศลสงเคราะห์ เปิดโรงพยาบาล การรักษาโรคเรื้อรังที่หายยากๆ การยาตราทัพ เจิมอาวุธยุทธภัณฑ์ สร้างโบสถ์วิหารการเปรียญ คล้ายกับโจโรฤกษ์ แต่ฤกษ์นี้จะแรงกว่า |
8. ราชาฤกษ์ แปลว่าผู้ยิ่งใหญ่ ผู้มีอำนาจวาสนา พระเจ้าแผ่นดิน มีพระศุกร์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็นบูรณะฤกษ์ เป็นฤกษ์เฉพาะกิจการของผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้นำกิจการขึ้นไปจนถึงพระราชา เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ งานราชพิธี งานราชการงานเมือง สร้างที่ประทับ งานที่ต้องการชักจูงให้ผู้อื่นดำเนินตาม การเข้ารับตำแหน่งงาน การแสวงหาชื่อเสียงเกียรติยศ การเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ งานมงคลสมรสที่หรูหรามีเกียรติ ลาสิกขาบท การขึ้นบ้านใหม่(สามัญชนควรเว้น ถ้าหาฤกษ์ไม่ได้ก็พออนุโลมใช้ได้ เพื่อดวงชะตาและความเหมาะสม) และ งานมงคลทั้งปวง |
9. สมโณฤกษ์ แปลว่า สงบเรียบร้อย นักบวช นักสอนศาสนา มีพระเกตุเป็นผู้รักษาฤกษ์ ฤกษ์บาททั้ง 4 อยู่ปลายราศีเดียวกัน แต่บาทฤกษ์สุดท้ายนี้เป็นนวางค์ขาดสุดราศีพอดี เรียกว่าจัตตุรฤกษ์ หรือขันธฤกษ์ จึงเป็นจุดที่มีผลเสียให้เกิดอันตรายต่างๆ ในการแข่งขัน ใช้ได้เฉพาะกิจเกี่ยวกับความสงบความสุจริต เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ ทำพิธีกรรมทางศาสนา และ ทางนักบวช เช่น การทำขวัญนาค การอุปสมบท หล่อพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เข้ารับการศึกษา และ การกระทำทุกอย่างเพื่อความสงบร่มเย็นเป็นสุข สงเคราะห์ในฤกษ์นี้ได้ เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญต่ออายุ |
อ.อรุณวิชญ์ วงศ์จตุพัฒน์