อธิบายเรื่องฤกษ์
1. ฤกษ์ ทลิทโท ได้แก่กลุ่มดาวฤกษ์ที่ 1, 10, 19 คือ อศวีนี, มฆา, มูลา
- บาทฤกษ์ทั้ง 4 ของฤกษ์รวมอยู่ในราศีเดียวกัน เรียกว่า “ปุณณฤกษ์ขัง” จัดเป็นมงคลฤกษ์ ย่อมให้คุณแก่เจ้าชาตา จะบริบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ เมื่อย่างเข้ามัชฉิมวัยกลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 3 กลุ่มนี้ เรียกว่า ทลิทโทฤกษ์ โดยมีพระอาทิตย์เป็นเจ้าฤกษ์
ข้อห้าม นวางค์แรกแห่งราศีอันเป็นที่เริ่มของนวางค์อันเป็นเกษตรต้น เรียกว่า “จัตตุรฤกษ์ และ ขันธฤกษ์” (พยะกะริขัง) หมายถึงจุดเกิดอันตราย บริวารและยศถา เขาจะชิงจากตน
2. ฤกษ์ มหัทธโน ได้แก่กลุ่มดาวที่ 2, 11, 20 คือ ภรณี, บุรพผลคุนี, บุรพษาฒ
- บาทฤกษ์ทั้ง 4 ของฤกษ์อยู่ในราศีเดียวกันเป็น “ปุณณฤกษ์ขัง” จัดเป็น มงคลฤกษ์ ย่อมให้คุณ จะบริบูรณ์ทุกกาล กลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 3 กลุ่มนี้ เรียกว่า มหัทธโนฤกษ์ โดยมี พระจันทร์เป็นเจ้าแห่งฤกษ์
3. ฤกษ์ โจโร ได้แก่กลุ่มดาวที่ 3, 12, 21 คือ กฤติกา, อุตรผลคุนี, อุตราษาฒ
- บาทฤกษ์ที่ 1 ของฤกษ์อยู่ในราศีที่เป็นอดีต บาทฤกษ์ที่ 2, 3, 4 อยู่ในราศีที่เป็นอนาคต ฤกษ์อย่างนี้เกี่ยวอยู่ 2 ราศี เรียกตามบาทของฤกษ์ที่เกี่ยวอยู่ในราศีที่เป็นอดีต 1 บาท เป็นอนาคต 3 บาท เรียกว่า “เอกตรีน” (คำ น. มาจากคำว่า นริกขิ และเขียนเป็น นิ ก็มี) ไม่เป็นมงคล มีผลเป็นโจร เป็นจุดให้เกิดอันตราย จึงเรียกกลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 3 กลุ่มนี้ว่า โจโรฤกษ์ โดยมี พระอังคารเป็นเจ้าแห่งฤกษ์ หรือเรียกว่านวางค์ในบาทฤกษ์ขาดจำพวกฉินทฤกษ์ คือฤกษ์ที่ขาดแตก
4. ฤกษ์ ภูมิปาโล ได้แก่กลุ่มดาวฤกษ์ที่ 4, 13, 22 คือ โรหิณี, หัสต, ศรวณะ
- บาทของฤกษ์ทั้ง 4 บาทอยู่ในราศีเดียวกัน เป็น “ปุณณฤกษ์ขัง” จัดเป็น มงคลฤกษ์ ย่อมให้คุณบริบูรณ์ทุกกาล กลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 3 กลุ่มนี้ เรียกว่า ภูมิปาโลฤกษ์ โดยมีพระพุธเป็นเจ้าแห่งฤกษ์
5. ฤกษ์ เทศาตรี ได้แก่กลุ่มดาวฤกษ์ที่ 5, 14, 23 คือ มฤคศิร, จิตรา, ธนิษฐา
- บาทฤกษ์ที่ 1, 2 ของฤกษ์อยู่ในราศีที่เป็นอดีต บาทฤกษ์ที่ 3, 4 อยู่ในราศีเป็นอนาคต คือเกี่ยวอยู่ราศีละกึ่งฤกษ์ ฤกษ์อย่างนี้เป็นฤกษ์แตก เรียกว่า ดินฤกษ์หรือพินทุบาทว์หรือฤกษ์อกแตก เป็นอัปมงคลฤกษ์ให้ผลชั่ว เป็นจุดเกิดอันตรายจึงเรียกกลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 3 กลุ่มนี้ว่า เทศาตรีฤกษ์ โดยมีพระเสาร์เป็นเจ้าแห่งฤกษ์
6. ฤกษ์ เทวี ได้แก่กลุ่มดาวฤกษ์ที่ 6, 15, 24 คือ อารทรา, สวาติ, ศตภิษัช
- บาทฤกษ์ทั้ง 4 ของฤกษ์อยู่ในราศีเดียวกัน เป็น “ปุณณฤกษ์ขัง” ย่อมให้เกิด สวัสดิมงคล กลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 3 กลุ่มนี้จึงเรียกว่า เทวีฤกษ์ โดยมี พระพฤหัสบดีเป็นเจ้าแห่งฤกษ์
ข้อห้าม เฉพาะกลุ่มดาวฤกษ์ที่ 15, 24 ควรเว้น หรือห้ามตั้งแต่บาทฤกษ์ที่ 2, 3, 4 คือ นวางค์ที่ 4, 5, 6 เนื่องจากนวางค์ถูกลูกพิษ แต่กลุ่มดาวฤกษ์ที่ 24 นวางค์ที่ 6 เป็นนวางค์ปุ ชั้นเอก คุ้มได้หมด
7. ฤกษ์ เพชฌฆาต ได้แก่กลุ่มดาวฤกษ์ที่ 7, 16, 25 คือ ปุนัพสุ, วิศาขา, บุรพภัทรบท
- บาทฤกษ์ที่ 1, 2, 3 อยู่ในราศีที่เป็นอดีต บาทฤกษ์ที่ 4 อยู่ในราศีที่เป็นอนาคต ฤกษ์อย่างนี้เรียกตามบาทที่เกี่ยวอยู่ข้างในราศีที่เป็นอดีต 3 บาท ที่เป็นอนาคต 1 บาท เรียกว่า “ตริดนอก” ไม่เป็นมงคลฤกษ์ มีผลเป็นความทุกข์ลำบาก เป็นจุดเกิดอันตราย จึงเรียกกลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 3 กลุ่มนี้ว่า เพชฌฆาตฤกษ์ โดยมี พระราหูเป็นเจ้าแห่งฤกษ์ หรือ เรียกว่านวางค์ในบาทฤกษ์ขาด จำพวกฉินทฤกษ์ คือฤกษ์ที่ขาดแตก
8. ฤกษ์ ราชา ได้แก่กลุ่มดาวฤกษ์ที่ 8, 17, 26 คือ บุษย, อนุราธา, อุตรภัทรบท
- บาทฤกษ์ทั้ง 4 ของฤกษ์อยู่ในราศีเดียวกัน เป็น “ปุณณฤกษ์ขัง” ย่อมเกิดศิริมงคลทุกอย่าง ให้คุณยิ่งใหญ่ จึงเรียกกลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 3 กลุ่มนี้ว่า ราชาฤกษ์ โดยมีพระศุกร์เป็นเจ้าแห่งฤกษ์
9. ฤกษ์ สมโณ ได้แก่กลุ่มดาวฤกษ์ที่ 9, 18, 27 คือ อาศเลษา, เชษฐา, เรวดี
- บาทฤกษ์ 4 ของฤกษ์อยู่ในราศีเดียวกัน เป็น “ปุณณฤกษ์ขัง” ย่อมเกิดศิริมงคลสำหรับนักบวช จึงเรียกกลุ่มดาวฤกษ์ทั้งสามกลุ่มนี้ว่า สมโณฤกษ์ โดยมี พระเกตุเป็นเจ้าแห่งฤกษ์
ข้อห้าม ควรเว้นหรือห้ามนวางค์สุดท้ายแต่ละบาทฤกษ์ทั้ง 3 กลุ่มดาวฤกษ์นี้ ซึ่งเป็นนวางค์สุดท้ายของราศี จัดเป็นนวางค์ขาดลงในราศีพอดี อันเป็นสุดเกษตรของพระเคราะห์ เรียกว่า “จัตตุรฤกษ์และขันธฤกษ์ (พยะกะริขัง) ผลเสียคือเป็นจุดอันให้เกิดอันตรายต่างๆ เขาจะชิงยศและชิงบริวาร
|